วันอังคารที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ทำไมประชาชนเชื่อว่ารัฐบาลเป็น “ผู้ฆ่า” และ ก้าวต่อยังไง ให้รัฐบาล “หยุดฆ่า”



ทำไมผมถึงให้น้ำหนักว่า รัฐบาลเป็นฝ่าย “ผู้ฆ่า” และ ทำไมผมถึงให้น้ำหนักว่า นปช. เป็นฝ่าย “ผู้ถูกฆ่า” นั่นเป็นเพราะข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ในสายตาประชาชนโดยทั่วกัน

ประเด็นแรก ที่เราเห็นกันชัดเจนคือ เจ้าหน้าที่รัฐ พกพาอาวุธสงครามและกระสุนจริงจำนวนมาก และยังได้รับอนุญาตให้ยิงกระสุนจริงอีกด้วย

ประเด็นที่สอง ลักษณะของ “ผู้ถูกฆ่า” ปรากฏว่าเป็นทหาร 1 ประชาชน 34 คน จากตัวเลขที่ได้รับการยืนยันล่าสุด และ ประชาชนทั้ง 34 คนที่ตายไปแล้วนั้น ไม่ได้พบว่ามีอาวุธสงคราม หรือ ถูกแจ้งความว่าเป็นผู้ก่อการร้ายแม้แต่คนเดียว

ประเด็นที่สาม ปฏิบัติการ “กระชับพื้นที่” ของรัฐบาลนั้น เป็นปฏิบัติการทางทหารที่ใช้กับศัตรูผู้รุกราน กล่าวคือ การปฏิบัติการ เริ่มด้วยการปิดล้อมพื้นที่ ตัดน้ำ ตัดไฟ ตัดอาหาร และ ตั้งเขตสังหาร (Life Firing Zone) หากประชาชนที่บริสุทธิ์ เดินเข้าไปให้ถือว่าไม่บริสุทธิ์ ให้ใช้กระสุนจริงยิงได้ทันที ทั้งยังมีอาวุธสังหารระยะไกล คือปืนที่ใช้ในการสงครามติดลำกล้อง ซึ่งปฏิบัติการในลักษณะนี้ มีน้ำหนักไปในทางล้อมปราบ มากกว่า ป้องกันความปลอดภัยของพี่น้องประชาชน เห็นได้ชัดว่า การตัดเส้นทางเสบียงไม่มีความจำเป็น และ การตัดไฟเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดความเสียหายได้ง่าย ในขณะที่การเพิ่มแสงไฟในมุมมืดสามารถช่วยระวังภัยได้ดี

ประเด็นที่สี่ คือ “ท่าทีของรัฐบาล” ที่ตอบสนองต่อประชาชน และ ผู้ชุมนุม แม้แต่การ “เจรจา-หยุดยิง” ก็ต้องมีข้อแม้ เพราะถ้าไม่มีข้อแม้ แล้ว ต่างฝ่ายต่างคิดว่าตนเองจะเพลี่ยงพล้ำเสียท่า ให้ฝ่ายตรงข้าม เมื่อ นปช. เสนอการเจรจาหยุดยิง แต่ ขอให้รัฐบาล ถอนทหารก่อน เมื่อ รัฐบาล ก็คิดที่จะเจรจาหยุดยิง แต่ ขอให้ นปช. สลายการชุมนุมก่อน เป็นไปได้หรือไม่ ที่ ทั้งสองฝ่ายยอมพบกันครึ่งทาง คือ win-win ทั้งคู่ เช่น “เจรจาหยุดยิง” ทันที โดยไม่ต้อง ถอนทหาร และ ไม่ต้องสลายการชุมนุม ตอนนี้ท่าทีของ นปช. ชัดเจน คือ ยอมให้ วุฒิสภา เป็นคนกลางในการเจรจา แต่ รัฐบาลยังไม่มีท่าทีที่ชัดเจน

ประเด็นที่ห้า คือ ท่าทีของรัฐบาล ที่มีต่อ “การปฏิบัติ” ภารกิจของสื่อ และ หน่วยกู้ภัย รวมไปถึง เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทั้งๆที่ สื่อ สามารถช่วยเจ้าหน้าที่ในการเก็บหลักฐาน “ผู้ก่อการร้าย” ส่วน หน่วยกู้ภัย สามารถช่วยเจ้าหน้าที่ในการยับยั้ง วิบัติภัยต่างๆ เช่น ช่วยดับไฟ ช่วยปฐมพยาบาลเบื้องต้น แก่ ประชาชนผู้บริสุทธิ์ และ เจ้าหน้าที่ตำรวจ สามารถช่วยในเรื่องการเจรจาต่อรองกับผู้ชุมนุมแนวหน้าที่ต้องปะทะกับเจ้าหน้าที่ รัฐบาลที่ไม่ใช่ฆาตกร ควรอาสาคุ้มครองสื่อ ให้สื่อได้อยู่แถวหลังถัดจากเจ้าหน้าที่ทหาร เพื่อให้มีหลักฐานแสดงความบริสุทธิ์ในปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ ช่วยทหารลดข้อครหา

ประเด็นที่หก รัฐบาลออกแถลงการณ์ต่างๆ โดยไม่เปิดโอกาสให้สังคมได้ตั้งคำถาม คือ แถลงเสร็จก็จบ ห้ามไม่ให้มีข้อสงสัยใดๆ การกระทำเช่นนี้ สร้างข้อสงสัยได้มาก สร้างข้อครหาได้มาก หากรัฐบาลบริสุทธิ์ใจ ก็ สมควรให้มีการตั้งคำถามสดออกทีวี หลังจากที่มีการแถลงข่าว เสร็จทุกครั้ง

ประเด็นที่เจ็ด รัฐบาลไม่ได้แสดงความมุ่งมั่น และ จัดลำดับความสำคัญให้ “การจับกุมผู้ก่อการร้าย” หรือผู้ก่อเหตุร้าย เป็นอันดับแรก แต่รัฐบาลกลับให้น้ำหนัก “การยุติการชุมนุมของ นปช.” เป็นจุดมุ่งหมายที่มีความสำคัญอันดับแรก ทั้งๆที่รัฐบาลควรจะมุ่งเป้าไปที่การแยกผู้ก่อการร้าย ออกจากผู้ชุมนุม ที่แม้แต่ อภิสิทธิ์ เองก็ยอมรับว่ามีประชาชนผู้มาด้วยอุดมการณ์ อยู่ในที่ชุมนุม รัฐบาลควรเร่งเปิดเผยออกมาว่า ใครคือผู้ต้องสงสัยว่า เป็นผู้ก่อการร้าย ใช้หน่วยข่าวกรองที่เข้าออกสถานที่ชุมนุมได้อย่างอิสระตลอดมา ในการสืบสวน ว่าใคร กลุ่มไหน ในการชุมนุมเป็นผู้ต้องสงสัยในการก่อการร้าย เพื่อที่จะได้ลดความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นต่อไป

ทั้งเจ็ดประเด็น ชี้ให้เห็นว่า รัฐบาลน่าจะเป็น ผู้ฆ่า ทั้ง 34 ศพ ที่เสียชีวิตไป และมีน้ำหนักมาก ว่า คนที่ตายไปเป็นผู้บริสุทธิ์ ที่ถูกสังหารโดยเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติการอยู่

ตอนนี้ต้องฝากความหวังไว้ที่ สังคมไทยทั้งประเทศครับ เราจะปล่อยให้ มีการตายกัน 500 ศพ อย่างที่ รัฐบาลจัดโควตากันไว้หรือไม่ ถ้าสังคมยินดีที่จะเห็นศพเพิ่มอีก 4-500 ศพ เราก็ไม่สามารถ ทำอะไรได้ครับ

แต่ผมมองว่า การพัฒนาของคนไทยที่ผ่านมา ได้สร้างคนไทยจำนวนมากให้เป็นอารยะชนไปแล้ว นั่นคือ ผมมั่นใจว่า สังคมไทยจะเริ่มพูดเสียงดังขึ้นแล้วว่า “หยุดฆ่า” เดี๋ยวนี้


ตอนนี้ ทางออกคือ ต้องอาศัยกระแสสังคม บีบให้ รัฐบาล “ยอมเจรจา”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น