วันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2553

ยืนติดพื้นขนาดนี้แล้ว จะให้หาทางลงไปไหนอีกครับ คุณ สมศักดิ์ เจียมฯ

เมื่อคุณ สุรชัย แซ่ด่าน ประกาศถอนตัวพร้อมกับทำนายว่า คนเสื้อแดงแพ้แล้ว เพราะไม่ดำเนินการตามแนวทางปฏิวัติ ตามมาด้วยคำขาดของ สามเกลอซึ่ง ตัด เสธ แดง ออกจากแนวร่วมและไม่ยินยอมให้ เสธ แดง ดำเนินการใดๆโดยอ้างว่าเป็นการกระทำของ นปช. อีกต่อไป ทำให้ มีความคิดเห็นเกิดขึ้นมากมาย

หนึ่งเสียงที่ดังพอๆ กับ คุณ สุรชัย และ เสธ. แดง คือ อ. สมศักดิ์ เจียมฯ นักสืบคดี สวรรณคต แห่งชุมชนคนเหมือนกัน คุณ สมศักดิ์ ได้แสดงความคิดเห็นไว้ในกระทู้ สองคำถาม หนึ่งคำตอบ เสนอให้ แกนนำ นปช. หาทางลง และ ยุติการชุมนุม


ผู้เขียน มองว่านี่เป็นสัญญาณ อันตราย เป็นไปได้ว่า รัฐบาลอาจจะใช้กำลังทหาร ปราบปรามประชาชนผู้ชุมนุมกันอย่างสงบ สันติ ปราศจาก อาวุธ

สมศักดิ์ เจียมฯ เสนอว่า “เสนอว่า เสื้อแดงควร "หาทางลง" และยุติการชุมนุมในเวลาไม่กี่วันข้างหน้านี้ เช่น ถือโอกาส กิจกรรมเคลื่อนขบวนรถตามถนนกรุงเทพฯ เพื่อ "ขอบคุณ คนกรุงเทพฯ" ในช่วงสุดสัปดาห์นี้ เป็น "ทางลง" แล้วหาทางตั้งหลัก เคลื่อนไหวใหม่ในอนาคต”

และ ได้ ตั้งคำถามสองคำถามขึ้น แล้วก็ ตอบเอาเองว่า “ไม่”

คำถามที่ คุณ สมศักดิ์ ตั้งขึ้น มีดังนี้

1. "เป้าหมาย ของการชุมนุม มีแนวโน้มที่จะบรรลุได้ ด้วยมาตรการต่างๆที่ได้ใช้มาจนถึงจุดนี้ หรือไม่?"
2. "มีมาตรการอื่นที่เป็นไปได้ ที่ยังไม่ได้ใช้ ทีสามารถทำให้เป้าหมาย ซึ่งไม่บรรลุนั้น บรรลุได้ หรือไม่?"

คุณ สมศักดิ์ เชื่อว่า คำตอบของทั้งสองคำถาม คือ “ไม่” และ “ไม่” ซึ่งแสดงให้เห็นว่า คุณ สมศักดิ์ ได้มองข้าม ส่วนประกอบ ของสถานการณ์ ที่จะนำพาคนเสื้อแดงไปสู่ชัยชนะ จนทำให้เกิดการคาดการณ์ที่ผิดพลาด แล้ว ก็ ออกมาแสดงความคิดเห็นในทำนองหวังดี ที่เป็นผลร้ายต่อการชุมนุมกดดัน รัฐบาลปัจจุบันให้ยุบสภาฯ โดยที่ได้นำเสนอ หนทางที่ควรจะดำเนินการ

คุณ สมศักดิ์ อาจจะคิดว่า ตัวเองเป็นคนกลาง หรือไม่ คือ ต้องวิจารณ์ทั้งสองฝ่ายอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่ต้องให้ความช่วยเหลือฝ่ายใด เพราะการชี้แจงให้แกนนำ นปช. หาทางลงนั้น เป็นการบอกว่า ให้ยอมแพ้ไปก่อน แล้วค่อยกลับมาสู้ใหม่ ผู้เขียนเห็นต่างจาก คุณ สมศักดิ์ ตรงที่ว่า มาตรการที่ อ. สมศักดิ์ ได้นำเสนอนั้น สามารถทำได้ ระหว่างการชุมนุม

จากสองคำถาม ที่ คุณ สมศักดิ์ ถามตัวเอง แล้ว ตอบตัวเองนั้น ทำให้เห็นว่าได้มองข้ามประเด็นสำคัญ ของการชุมนุมตามแนวทางสันติวิธี ไปอย่างน่าเสียดาย ผู้เขียนจึงขออนุญาต ชี้แจงทั้งสองคำถามดังต่อไปนี้

"เป้าหมาย ของการชุมนุม มีแนวโน้มที่จะบรรลุได้ ด้วยมาตรการต่างๆที่ได้ใช้มาจนถึงจุดนี้ หรือไม่?"

ผู้เขียนเห็นว่า เป้าหมายแรก ณ ปัจจุบัน ของการชุมนุม คือ การเรียกร้องให้ นาย อภิสิทธิ์ ตัดสินใจยุบสภาฯ ในทันที


ด้วยมาตรการที่ผ่านมา สามมาตรการหลักๆ สรุปง่ายๆคือ (1) มาตรการขอเข้าพบ และ (2) มาตรการสละเลือด แสดงความตั้งใจ และ (3) มาตรการปรับตัวเพื่อเตรียมความพร้อมที่จะชุมนุม ยืดเยื้อยาวนาน ซึ่งมาตรการทั้งสามนี้ ได้รับการยอมรับเป็นที่กว้างขวางว่า เป็นมาตรการภายใต้แนวทางสันติวิธี

สำหรับมาตรการแรกนั้น การที่ผู้ชุมนุม เดินทางไป รบ. 11 เพื่อเข้าพบ นายกฯ เป็นการกดดัน รัฐบาล เมื่อ นายกฯ ปฏิเสธไม่ให้เข้าพบโดยการ ขึ้น ฮ. บินหนีไป และ มาตรการขอเข้าพบจะยังคงปฏิบัติต่อไปหากพบว่า นายกฯ มาทำงานที่ทำเนียบ หรือ เข้าร่วมประชุมในรัฐสภาฯ หรือ เข้าร่วมประชุมพรรค หรือ กลับบ้าน มาตรการนี้ แสดงให้ประชาชนได้เห็นว่า นายกฯ ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างสะดวกสบาย จะโผล่ออกมาได้ เฉพาะตอนที่ผู้ชุมนุมเผลอ หรือ ตอนที่ผู้ชุมนุมเตรียมตัวเข้าพบไม่ทัน เท่านั้น มาตรการนี้ จึงเป็นการกดดัน ไม่ให้ นายกฯ ที่ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชนส่วนใหญ่ ได้ปฏิบัติหน้าที่ อย่างสะดวกสบาย

สำหรับมาตรการที่สองนั้น การที่ผู้ชุมนุม ได้ยอมสละเลือด เพื่อแสดงให้เห็นว่า ผู้ชุมนุมมีความตั้งใจที่จะเรียกร้อง ให้ นายกฯ ยุบสภาฯ ตามแนวทางสันติวิธี การแสดงความตั้งใจครั้งนี้ ได้รับการติดตามจากสื่อมวลชน และ ประชาชนจำนวนมาก และในที่สุดได้ แสดงให้เห็นว่า ผู้ชุมนุม ยึดมั่นในหลักสันติวิธี เมื่อผู้ชุมนุม ไม่ยอมใช้ความรุนแรง จึงทำให้การเรียกร้องของคนเสื้อแดง แตกต่างจากพันธมิตร และ ไม่เปิดโอกาส ให้รัฐบาลใช้ความรุนแรงเป็นข้ออ้างในการ ประกาศ พรก. ฉุกเฉิน เพื่อสลายการชุมนุม จึงสรุปได้ว่า มาตรการนี้ เป็นมาตรการที่ดี ในการชิงพื้นที่สื่อทั้งใน และ ระหว่างประเทศ อีกทั้งยังเป็นการสร้างแนวร่วมในสังคมจากชนชั้นกลาง ที่พิจารณาแล้วเห็นว่า ถึงแม้ ผู้ชุมนุมจะยอมเสียเลือด แต่ก็ไม่ยอมใช้ความรุนแรง

สำหรับมาตรการที่สาม การปรับตัวเตรียมพร้อมในการชุมนุมยืดเยื้อยาวนาน ของผู้ชุมนุม เป็นการเปิดโอกาส ในการให้ข้อมูล ที่มีน้ำหนัก แก่สังคมไทย โดยที่รัฐบาลจำเป็นจะต้อง ชี้แจงเพื่อลดความชอบธรรมของการชุมนุม ซึ่งอาจนำไปสู่การพิสูจน์ ข้อกล่าวหาต่างๆ อีกทั้งการที่ผู้ชุมนุมเตรียมพร้อมที่จะชุมนุมยืดเยื้อยาวนานนั้น ยังเป็นการกดดัน ที่ดี ที่จะทำให้ รัฐบาลบังคับใช้กฎหมายให้เป็นมาตรฐานมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น คดียึดสนามบิน คดียึดทำเนียบ คดีสนามกอล์ฟบุกรุกพื้นที่ป่า และ คดี อื่นๆที่พรรคพวก ของรัฐบาล และ อำมาตย์ ได้กระทำลงไป จึงสรุปได้ว่า มาตรการ ปรับตัวเตรียมพร้อมที่จะชุมนุมแบบยืดเยื้อยาวนาน เป็นการกดดันที่ดี อีกทางหนึ่ง

ผู้เขียน มองว่าทั้งสามมาตรการข้างต้น เป็นแนวทางที่ดี ที่จะช่วยให้รัฐบาลยอมเปิดโต๊ะเจรจา ว่าจะยุบสภาฯ เมื่อไหร่ อย่างไร และทั้งสามมาตรการนั้นเป็นเป็นการปฏิบัติที่ได้ช่วยเพิ่มความชอบธรรมในการเรียกร้องประชาธิปไตย ตามแนวทางที่เป็นที่ยอมรับเป็นสากล จึงสรุปได้ว่า เป็นมาตรการที่ช่วยสร้าง แนวโน้ม ไปสู่การบรรลุเป้าหมาย ได้อย่างมั่นคง

ผู้เขียนยังเข้าใจดีว่า ผู้ชุมนุมยังมีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มมาตรการ ในการกดดัน ซึ่งจะได้ อธิบายควบคู่ไปกับ การตอบคำถามที่สองของ คุณ สมศักดิ์ ในคราวเดียวกัน คือ


"มีมาตรการอื่นที่เป็นไปได้ ที่ยังไม่ได้ใช้ ทีสามารถทำให้เป้าหมาย ซึ่ง(ยัง)ไม่บรรลุนั้น บรรลุได้ หรือไม่?"

ผู้เขียนขออนุญาต เติมคำในวงเล็บ ลงในประโยคคำถาม เพื่อที่จะแสดงทัศนคติ และ ความเชื่อ ของผู้เขียน โดยใช้คำว่า “(ยัง)”

ผู้เขียน ตอบได้ทันทีว่า “มี” เพียงแต่ว่า แกนนำจะนำไปปฏิบัติ หรือไม่ เนื่องจากทุกท่านทราบดีว่า สามมาตรการหลักๆ ที่ได้ปฏิบัติไปแล้วนั้น ไม่เพียงพอที่จะกดดันให้ อภิสิทธิ์ ยุบสภาฯ ได้ในเวลาอันรวดเร็ว เนื่องจากขาด มาตรการ ที่เป็นตัวเร่ง และ เพิ่มแรงกดดัน ไปสู่รัฐบาล เพื่อบีบให้ ตัดสินใจยุบสภาฯ

มาตรการที่ อยากนำเสนอ มีดังต่อไปนี้

1 การอภิปรายไม่ไว้วางใจนอกสภาฯ โดยประชาชน โดยข้าราชการ โดยนักการเมือง ซึ่งจะเป็นการนำข้อมูล ที่ชี้ให้เห็นว่า รัฐบาล โกงเงินภาษี จากโครงการต่างๆ อย่างไร หรือ รัฐบาล ดำเนินนโยบาย การบริหารราชการ ผิดพลาด อย่างไร หรือ รัฐบาลมีความประพฤติไม่เหมาะสม ที่จะได้รับความไว้วางใจ ให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป อย่างไร

มาตรการนี้ จะเป็นการติดอาวุธ ทางปัญญา ให้พี่น้องประชาชน ในขณะที่ เป็นการกดดันให้เกิดแรงกระเพื่อมภายในรัฐบาล หากไม่สามารถ ตอบคำถามสังคมได้อย่างมีหลักฐาน และ เหตุผล

2 มาตรการเข้าชื่อ ยื่นถอดถอนนายกรัฐมนตรี หรือ คณะรัฐมนตรี อาศัยอำนาจตามมาตรา 304 เพื่อแสดงให้เห็นว่า มีประชาชนจำนวนมากไม่พอใจ ไม่เห็นด้วย คัดค้าน ที่จะให้รัฐบาลชุดปัจจุบัน บริหารราชการแผ่นดินต่อไป ซึ่งผู้เขียน ได้เสนอแนวทางเบื้องต้นไว้ที่ http://ncred.blogspot.com/2010/03/blog-post_17.html

3 มาตรการที่ คุณ สมศักดิ์ นำเสนอ เช่น จัดตั้ง องค์กร คู่ขนาน ทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น หรือ กลายเป็น สมัชชา, เปิดโอกาส และ เชื้อเชิญ ให้ นักการเมืองทั้งใน และ นอกสภาฯ รวมไปถึงบ้านเลขที่ 111 ให้มีบทบาทส่งเสริมกัน




และ มาตรการรุนแรงอื่นๆ หากสามารถ สร้างแนวร่วมได้เป็นจำนวนมาก เช่นการนัดกัน หยุดงาน พร้อมกัน เป็นต้น

.......................................................

สรุปโดยรวม ผู้เขียนเห็นว่า แกนนำคนเสื้อแดง โดยเฉพาะ สามเกลอ นั้น ยืนติดดินแล้ว ไม่รู้จะให้ลงจากอะไรอีก อีกทั้งมาตรการต่างๆ ที่ คุณ สมศักดิ์ เจียมฯ เสนอ ก็เป็นที่น่าเชื่อว่า สามารถ เริ่มกระทำได้ระหว่างชุมนุม เป็นการดี กว่า การกลับไปแอบตั้งองค์กร แล้วค่อยกลับมาใหม่ เพื่อให้สังคมได้เห็นการพัฒนาการขององค์กร ในระหว่างขับไล่รัฐบาล

อ้างอิง กระทู้ คุณ สมศักดิ์ เจียมฯ ที่เกี่ยวข้อง


ผมหว้งว่า แกนนำเสื้อแดง(โดยเฉพาะคุณจตุพร) จะไม่ดื้อดึงนะครับ ถึงเวลาควรถอย ก็ควรถอย สิ่งที่น่าคิดคือ เริ่มต้นคิดสำหรับระยะยาว
http://weareallhuman.net/index.php?showtopic=44168

ถือโอกาส "ลง" (ยุติชุมนุม) หลัง "ขบวนรถขอบคุณคนกรุงเทพ" แล้วปรับขบวนใหม่ ดังนี้ . . .
http://weareallhuman.net/index.php?showtopic=44229

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น